ผักตระกูล หญ้า

ข้าวโพดหวานสองสี (Bicolor Sweet Corn)

ข้าวโพดหวานสองสี

ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึ่งประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

โดยทั่วไปดอกตัวผู้บานก่อนดอกตัวเมีย และพร้อมจะผสมภายใน 1-3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2-14 วัน ดอกตัวเมียมีลัษณะเป็นฝักจากแขนงสั้นๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8-13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย และหุ้มฝัก(husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้าวเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสรตัวผู้

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานสองสี

ข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกและการเจริญเติบโต ควรอยู่ระหว่าง 21-30’C แต่ไม่ควรสูงเกิน 35’C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิ ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16-24’C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยน น้ำตาลเป็นแป้งสูง(Polysaccharides)

กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูง จะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำ หากสภาพแปลงปลูก มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เมล็ดอางจะเน่าได้ หรือสภาพความชื้นสูง หรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า 13 ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญ ของดอกใบบางสายพันธุ์

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดหวานสองสี

ข้าวโพดหวาน จัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง และมีประมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามิน นอกจากนี้พันธุ์ที่มีสีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่ง หรือ ย่าง ทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสม กับมะพร้าวขูด น้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่ แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น

ไร่ข้าวโพด

การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวานสองสีระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน

  1. ไถพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชและแมลงในดิน
  2. หากสามารถตรวจเช็คค่า pH ของดินได้จะช่วยในด้านการเติบโต ของข้าวโพด โดยค่า pH ควรอยู่ในช่วง 6-6.5 หากสภาพดิน เป็นกรดคือต่ำกว่า 6 ให้เติมปูนขาวหรือดินโดโลไมท์ ในอัตรา 100 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นควรใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วยปรับสภาพดินในอัตรา 2-5 กก./ตร.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับ สภาพดินและผสมปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 25-50 กก./ไร่ หากสภาพดินเป็นดินทราย ควรจะใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 แทนปุ๋ย 16-20-0

การเตรียมกล้า

  1. เพาะกล้าอย่างประณีต ในถาดหลุมเมื่อมีอายุ 7 วัน แล้วย้ายปลูก
  2. หากเพาะกล้าในแปลงเพาะโดยการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ แล้วใช้แกลบดำกลบ ควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อเพิ่มความชื้น และลดความร้อนในช่วงกลางวัน
  3. การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก ควรบ่มเมล็ดก่อนโดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียก และห่อเมล็ดไว้ 1 คืน ให้รากเริ่มงอก แล้วนำไปหยอด ในแปลงปลูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร และรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกแทงต้นพ้นดิน
    ข้อควรระวัง
    – ควรคลุกเมล็ดด้วยเอพรอน 35 เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง และ
    – ฉีดพ่นเซฟวิน 85 ป้องกันมดและแมลงทำลายเมล็ด
    หากใช้การหยอดเมล็ดในแปลงปลูกใช้วิถีถอยหลังแล้วหยอดเมล็ด ไม่ควรเหยียบแปลงที่หยอดเมล็ดแล้ว
  4. หากปลูกช่วงฤดูร้อนควรมีการแช่เมล็ดใน GA จะช่วยเพิ่มเกสรตัวผู้

การปลูก

  1. ระยะปลูก (ต้นxแถว) 25×75 ซม.(6 ต้น/ตร.ม.) จัดใบให้หันไปในทางเดียวกัน ทำมุมกับแปลง 45 องศา ทั้งนี้เพื่อให้มีการ ผสมเกสรได้ดีขึ้น เมื่อย้ายปลูกได้ 7 วัน
    – ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ 2 สูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณโคนต้นหรือใช้ วิธีการหยอดที่โคนต้น
    – ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายปลูกได้ 20-25 วัน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และทำการคลุมโคน หลังจากนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะข้าวโพดกำลังเริ่มสร้างช่อดอกเกสรตัวผู้ ภายในลำต้น และระบบรากกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ควรที่จะรบกวนระบบ ราก มากนักอาจจะทำให้ต้นเหี่ยว และชะงักการเติบโตได้
  2. เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้น ให้เด็ดออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง ราสนิม และการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้น และฝัก
  3. เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45-50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายและให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากขาดน้ำ ต้นข้าวโพดจะหยุดการสร้างฝักเมล็ด ส่วนปลายฝักจะฟ่อทันที
    ข้อควรระวัง
    – ควรกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
    – ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยนขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป

การให้น้ำ ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้ การผสมเกสรไม่ดี ฝักที่ได้คุณภาพต่ำ การติดเมล็ดไม่สม่ำเสมอ

การใส่ปุ๋ย
– ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-20 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ ในขั้นตอนการเตรียมดิน
– ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ หลังปลูก 7 วัน
– ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25 วัน
– ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 45 วัน
ข้อพิจารณา

  1. ในดินทรายการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
  2. การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือไม่ ขอให้พิจารณาความสมบูรณ์ของข้าวโพดเป็นสำคัญ

การเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อมีอายุ 16-20 วัน หลังจากที่ข้าวโพดผสมเกสร ลักษณะเปลือกเมล็ด ไม่หนาเกินไป การเก็บเี่กี่ยวก่อนกำหนด จะทำให้ข้าวโพดหวาน อ่อนเกินไป และมีน้ำหนักฝักน้อย ในขณะที่การเก็บอายุมาเกินไป ถึงแม้จะได้น้ำหนักฝักมากขึ้น แต่เปลือกเมล็ดจะหนา และข้าวโพดเสียคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก จะต้องทำการนับวัน ที่ข้าวโพดออกไหม แล้วจึงทำการกำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกไหม 16-20 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดหวาน จะพบว่า พันธุ์ลูกผสมจะมีช่วงการออกดอก สม่ำเสมอทำให้เกษตรกร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว เมื่อถึ่งกำหนด การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความอ่อน-แก่ ขนาด รูปร่าง รสชาติ และน้ำหนักของข้าวโพดหวาน ส่วนการเก็บก่อน การจำหน่ายฝักสด หรือก่อนการแปรรูป ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวาน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวานสองสีในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า-ย้ายปลูก 7-10 วัน โรคราน้ำค้าง,

ระยะคลุมโคนและเริ่มสร้างช่อเกสรตัวผู้ 17-32 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้,

ระยะแตกหน่อ 35-40 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้,

ระยะออกไหม-ผสมเกสร 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก Free Stock Photos by Rosana Prada

ระยะเก็บเกี่ยว 65-70 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก

ที่มา: Free Stock Photos by Rosana Prada

5 Comments

  1. mongkol

    จำหน่ายโดโลไมท์ปรับสภาพดิน ตราสามฤดู สนใจติดต่อ 0890248351

    เหนือ กว่าชนิดหิน
    ดินโดโลไมท์ มีสภาพเป็นดินร่วนซุยตามธรรมชาติจึงแตกตัวละลายน้ำง่าย และมีปฏิกิริยาเร็วกว่าหินถึง 3 เท่า แม้ว่าชนิดหินจะถูกบดละเอียดกว่า 300 เมซ ก็ไม่สามารถจะแตกตัวปล่อยธาตุอาหารได้รวดเร็วเท่า “ดินโดโลไมท์” ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กละเอียด ทำให้ประจุของแมกนีเซียม แคลเซียม และคาร์บอร์เนต แตกกระจายตัวดี เหมาะกับการเตรียมบ่อ และน้ำในการเลี้ยงกุ้ง ช่วยเพิ่มค่าอัลคาไลน์ (ALKALINITY) ใช้ทำสีน้ำ และป้องกันการเปลี่ยนแปลง พี.เอช.(P.H) ในรอบวันได้ดีกว่าชนิดหิน

    เ ต็ ม เ ปี่ ย ม ด้ ว ย คุ ณ ภ า พ

    แร่โดโลไมท์ ที่มีสภาพเป็นดินร่วนซุยนั้น พบในภาคเหนือของประเทศไทย (จังหวัดแพร่ลำปาง ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย และเพชรบูรณ์) แหล่งที่มีปริมาณมาก และคุณภาพดีที่นำมาใช้ในการเกษตรได้นั้น มีที่จังหวัดแพร่ และจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะแหล่งที่พบใน อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้น พบว่ามีคุณภาพที่เหนือกว่าแหล่งอื่นๆคือ บริสุทธิ์กว่า เพราะเป็นแร่โดโลไมท์ล้วนๆที่ปราศจากสิ่งเจือปน เช่นดินลูกรัง ดินเหนียว หรือเศษไม้ผุพัง ดินโดโลไมท์ ที่เราจึงบริสุทธิ์ กว่าที่มีขายอยู่ใน ท้องตลาดในปัจจุบัน และมีปริมาณ ธาตุอาหารมากกว่า โดยเฉพาะแมกนีเซียมมีมากกว่าแหล่งอื่นๆกว่า 2 เท่า อีกทั้งยังมีธาตุซิลิกา (SIO2) อันเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากถึง 10.70%
    โครงสร้างของดินโดโลไมท์ จึงฟูโปร่งและเบากว่า ด้วยในทีมงานประสบการณ์อันยาวนาน ในการผลิตแร่โดโลไมท์ เพื่อใช้ในการเกษตรมานับ 10 ปี ดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดด้วยทีมงานที่มีความชำนาญ ได้คุณภาพมาตรฐาน มีอนุภาคเล็ก ละเอียดกว่า ชนิดเดียวกัน จึงมีความชื้นต่ำ เมื่อถูกน้ำจะละลายแตกตัวออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับปรับปรุงดิน และน้ำ ใช้ป้องกันการเกิดก๊าซพิษ และรักษาสภาพสมดุลตามธรรมชาติในบ่อเลี้ยง การใช้ดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู ในบ่อกุ้ง จึงเป็นการ ประหยัดกว่า ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและลดอัตราการใช้สารเคมีอีกด้วย

    ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ดิ น โ ด โ ล ไ ม ท์ ตรา สามฤดู กั บ พื ช ผั ก ไ ร่ ส ว น ไ ม้ ผ ล

    1. ให้ธาตุอาหารรองแก่พืชเพราะมีทั้งแคลเซียม และแมกนีเซียม รวมทั้งธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นแก่พืช แคลเซียม (Ca) นอกจากจะแก้ความเป็นกรดแล้ว ยังช่วยพืชในการแบ่งเซลล์ เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชปรุงอาหารได้มาก เพิ่มผลผลิตแบบยั่งยืน
    2. ปรับปรุงบำรุงดินให้ร่วนซุย มีรูพรุนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำให้จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ พืชผลก็จะได้คุณภาพที่ดี
    3. ปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน ดินที่ถูกตรึงธาตุอาหารไว้เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานและทำให้ปุ๋ยเคมีสะสมในดินจำนวนมาก จะทำให้รากพืชสามารถดูด และนำพาปุ๋ยที่สะสมในดินไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
    4. ใช้แก้ปัญหาสภาพดิน สภาพดินเปรี้ยว ดินพรุน ดินดาน ดินเสื่อมโทรม และที่ใช้ทำการเกษตรมานานๆ สามารถปรับสภาพดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการทำการเกษตร ส่งให้ผลผลิตที่ได้รับมีคุณภาพสูงสุด
    5. ป้องกันแก้ไขปัญหา พืชโตช้า แคระแกน ใบเหลือง ใบซีด ใบหงิกงอ ดอกผลร่วง ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงผิดส่วน ผลผลิตตกต่ำ ใช้ดินโดโลไมท์ ตราวัว สารธรรมชาติปรับสภาพดิน จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเห็นผลดีเยี่ยม

    ใช้ปรับปรุงดินก่อนปลูก ควรวัดค่าพีเอช(P.H.)ของดินก่อนใช้ ดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู ตามอัตราดังต่อไปนี้

    ความเป็น กรด-ด่าง
    ของดิน อัตราการใช้ดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู ( กิโลกรัม/ไร่ )
    ดินทราย ดินเหนียวปนทราย ดินร่วน ดินพรุน
    3.5 1,300 1,500 1,800 3,000
    4.2 820 900 1,200 1,400
    4.5 500 600 800 900
    5.0 200 350 500 650
    6.0 150 200 300 400
    **ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก***
    ใช้ในไม้ผล ใช้ตามอายุของพืช เช่น พืชอายุ 1 ปีใช้ 1 ก.ก./ต้น 3 ปีใช้ 3 ก.ก./ต้น
    ใช้ในพืชไร่นาข้าว ใช้ดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู หว่าน 50-100 ก.ก./ไร่ หรือตามสภาพดิน
    อาหารเสริมปรับสภาพดินโดโลไมท์ ตราสามฤดู ประกอบด้วยธาตุอาหาร ดังต่อไปนี้
    • แมกนีเซียม
    1. ช่วยในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชมีการปรุงอาหารดีขึ้น
    2. ช่วยให้ใบพืชเขียวทนนาน
    3. ช่วยสร้างน้ำมันในพืช
    4. จำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์ในพืช
    5. เป็นอาหารของจุลินทรีย์
    • แคลเซียม
    1. ช่วยในการสร้างราก การแตกกิ่ง สร้างตา สร้างดอก
    2. ป้องการหลุดล่วงของดอก
    3. ช่วยสร้างเซลล์ และทำให้ผนังเซลล์ตึง ทำให้ลำต้นพืชแข็งแรง
    • อลูมิน่า
    1. ช่วยสลายสภาพความเป็นกรดในดิน (ช่วยลดกรดในดิน)
    • ซิลิกา
    1. ช่วยดูดซับความชื้น และแร่ธาตุอาหารในดินให้อยุ่ในดินนานขึ้น
    2. บำรุงลำต้นและใบพืช
    3. ช่วยให้ลำต้นของพืชแข็งแรง ไม่ล้ม
    4. ป้องกันการรบกวนของแมลง และโรคบางชนิด
    • สังกะสี
    1. ช่วยสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆในพืช
    2. ช่วยกระตุ้นในการแตกใบ
    3. สร้างแป้งในเมล็ดข้าว ช่วยให้เมล็ดข้าวเต็ม
    • ทองแดง
    1. สร้างสารคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) ในพืช และช่วยสังเคราะห์
    2. เพิ่มความหวาน กลิ่น และความเข้มของสีในผักและผลไม้
    • เหล็ก
    1. สร้างสารคลอโรฟิลล์ และสังเคราะห์โปรตีนในพืช
    2. ช่วยในกระบวนการหายใจของพืช
    • โมลิบดีนัม
    1. มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตรึงไนโตรเจน
    • โบรอน
    1. ช่วยสร้างโปรตีน,แป้ง และการแบ่งเซลล์ของพืช

    คำแนะนำในการใช้
    1. ใช้เพื่อปรับสภาพดิน แก้ดินแน่น ดินเป็นกรดใช้หว่านรองพื้น 1 – 2 กระสอบ ต่อไร่
    2. ใช้เพื่อลดต้นทุนปุ๋ยเคมี ผสมอาหารเสริมปรับสภาพดิน ตราสามฤดู กับปุ๋ยเคมี
    อัตราส่วน :2:1

    ปุ๋ยเคมี 3 กระสอบเคยหว่านได้กี่ไร่ ก็หว่านได้จำนวนไร่เท่าเดิม

    หมายเหตุ
     พื้นที่เพาะปลูกเป็นดินทรายให้ผสมอัตราส่วน 1:1
     ปกติเคยใช้ปุ๋ยเคมีตอนไหน ก็ให้ใช้ตอนนั้น
     ปกติเคยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรไหน ก็ให้ใช้สูตรเดิม
    คำเตือน!!! : ต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีสูตรที่ใช้ตามปกติทุกครั้ง

  2. คนหล่อพอประมาณ

    ขอบคุณ ที่มาแนะนำสิ่งดีๆนะครับ

  3. นันทวรรณ

    ติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีได้ที่ไหนคะ

  4. วรรณภา

    จำหน่ายโดโลไมท์ปรับสภาพดินจากวิเชียรบุรี รับรองคุณภาพค่ะ
    ติดต่อ วรรณภา 080-227-6462

  5. ชัยวัฒน์

    ที่ไหนมีการขาย พันธุ์ของข้าวโพดหวานสองสีบ้างครับ

    ผมต้องการจะนำมาปลูกมากๆครับ ใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะครับ

    เมล์มา หรือ โทรมาก็ได้ครับ 0873926950

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น