ผักตระกูล แครอท

เซเลอรี่ (Celery)

เซเลอรี่ จัดเป็นพืชวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apium graveolens var. secalium และเป็นพืชตระกูลเดียว กับพลาส์เล่ย์ มีถิ่นกำเนิด ในแถบประเทศสวีเดน ถึงอียีปต์ และอบิสซิเนีย ลักษระลำต้นสั้น อยู่ระหว่างราก และก้านใบ  ก้านใบอวบหนา ใบเป็นแบบ pinnate มีจำนวน 5-7 ใบ ต่อก้านใบ  ก้านที่อยู่ด้านในมีขนาดเล็ก กรอบเรียก “the heat”  ก้านใบ เป็นสันชัดเจน โคนก้านใบกว้าง มีแป้ง และสารอาหารประเภทแป้งสูง ใบเรียกต่างๆ กัน เช่น riba, shanks, หรือ ก้านใบ เรียก bunches, head หรือ stalks ก้านใบ จะหนา และกรอบ ใบประกอบด้วยสาร Apiin (apigenin 7-apiosylglucoside)  ที่ทำให้เกิดกลิ่น และรสชาติ ในใบเซเลอรี่

สภาพแวดล้อมการปลูก

เซเลอรี่ เป็นพืชที่ชอบสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะเวลากลางคืน และก่อนเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปอุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อ การปลูกอยู่ระหว่าง 15.5-18’C และไม่ควรเกิน 24.0’C ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน 6.5-7.0

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

เซเลอรี่ สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ ทำซุป ผัดกับปลา หรือรับประทานสด ในสลัด มีสรรพคุณช่วยลด ความดันโลหิต คนเป็นโรคไตทานได้ เพราะมีโซเดียมต่ำ

การปฏิบัติดูแลรักษาเซเลอรี่ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า เพาะกล้าอย่างประณีตในถาดหลุม เมื่อมีอายุได้ 25 วัน ย้ายลงถุงเพาะขนาดใหญ่ หลังย้ายกล้างถุง 20-25 วัน ย้ายลงปลูก

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 15-20 กรัม/ตร.ม. มูลไก่อัตรา 2-4 กก./ตร.ม. ผสมคลุกเคล้า กับดินให้ทั่วแปลง

การปลูก ย้ายกล้าปลูกใช้ระยะปลูกแล้วแต่ความเหมาะสม ของแต่ละฤดูกาล เช่นฤดูหนาวปลูก ระยะ 40-30 ซม.ฤดูฝน 25-25

การให้น้ำ สามารถให้ได้ทั้งแบบสปิงเกอร์หรือวางระบบ การให้น้ำ พร้อมปุ๋ย(fertigation)

การให้ปุ๋ย เมื่อพืชอายุได้ 25-30 วัน เก็บวัชพืชออก เด็ดหน่อที่เกิดใหม่ทิ้ง พร้อมใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 หรือ 15-0-0 ในอัตราผสม จำนวน 50 กก./ไร่ 1:1 โดยโรยปุ๋ยบนหลังแปลง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2 สัปดาห์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 และ 15-0-0 ในอัตราผสมจำนวน 50 กก./ไร่ สัดส่วน 2:1 และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 3 กำมือ/ต้น

การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่อต้นมีความสูงประมาณ 45 ซม. ขึ้นไป (อายุ 2.5-3.5 เดือน) ใช้มีดตัดตรงโคนต้น ตัดแต่งก้านใบ ตัดให้เหนือจากข้อ บนก้านใบเล็กน้อย ให้มีความยาวของก้านประมาณ 30-35 เซนติเมตร คัดเลือกส่วนที่มีตำหนิ หรือก้านใบที่ไม่ตั้งตรงทิ้งไป

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า-ย้ายกล้าครั้งที่ 1 อายุ 25 วัน โรครากปม, โรคใบจุด, โรคโคนเน่า, หนอนชอนใบ,

ระยะย้ายกล้าลงถุงครั้งที่ 2 อายุ 40-50 วัน โรครากปม, โรคใบจุด, โรคโคนเน่า, หนอนชอนใบ,

ระยะเจริญเติบโตช่วงต้น 80-90 วัน โรครากปม, โรคใบจุด,

ระยะเก็บเกี่ยว 125-135 วัน โรครากปม, โรคใบจุด,

ที่มา:
– คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง
– สมุดบันทึกฝึกงาน

1 Comment

  1. yams

    อร่อยดีค่ะ ชอบๆ ^_^ ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น