ผักตระกูล กะหล่ำ

คะน้าฮ่องกง (Kailaan)

คะน้าฮ่องกง

ที่มาภาพ: www.royalprojectthailand.com (มูลนิธีโครงการหลวง)

คะน้าฮ่องกง ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea var. alboglara จัดเป็นคะน้ายอดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลกะหล่ำมีต้นกำเนิดจากปรเทศจีน ลักษณะลำต้นและใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะเรียว ไม่กลม ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าคะน้า ยอดดอยคำ กรอบไม่เป็นเสี้ยน ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คะน้าฮ่องกง (Kailaan)
คะน้าฮ่องกง (Kailaan) ตอบสนองต่ออุณหภูมิมากกว่าคะน้าดอยคำ กล่าวคือ กาะเพาะกล้าในช่วงอุณหภูมิต่ำหากย้ายลงแปลง ที่อุณหภูมิสูงขึ้น เล็กน้อย ต้นกล้าจะแทงช่อดอก ในขณะยังเล็ก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเพาะกล้าในที่มีอุณหภูมิต่ำ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อ การปลูก และผลผลิตที่มีคุณภาพควรอยู่ในช่วง 15-28’C สำหรับดินที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินร่วน มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อปรับโครงสร้างดิน โดยทั่วไปค่าความเป็นกรด-ด่างของดินที่เหมาะสม ควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ดินมีความชื้นสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป และควรได้รับแสงอย่างพอเพียง

คะน้าฮ่องกง (Kailaan) การใช้ประโยชน์และคุณค่าอาหาร
นิยมนำคะน้าฮ่องกงมาผัด หรือนำมาเป็นเครื่องเคียงกับอาการประเภทยำ มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมาะเร็ง นอกจากนั้นยังมี วิตามิน และแคลเซียมมาก ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคกระดูกบาง

การปฏิบัติดูแลรักษา คะน้าฮ่องกง (Kailaan) ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า มี 2 วิธี เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทราย : ขุยมะพร้าว : ดิน อัตราส่วน 2:1:1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากมีอายุประมาณ 18-21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก
การเตรียมดิน ขุดดินลึก 10-15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก (มูลไก่) หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
การปลูก ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง

  1. ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30×30 ซม.
  2. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวใช้ระยะปลูกแคลลง 15×15 ซม.

การให้น้ำ ให้น้ำแบบสปริงเกอร์
การให้ปุ๋ย เนื้องจากคะน้าฮ่องกงเป็นผักกินใบในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนค่อนข้างสูง

  1. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
    หลังจากย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม.
  2. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
    หลังจากย้ายปลูก 14-20 วัน 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 1:2 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม.

การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวคะน้าฮ่องกงเมื่ออายุ 35-45 วัน ตั้งแต่เริ่มเพาะ ถ้าอากาศเย็นจะออกดอกเร็ว

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของคะน้าฮ่องกง (Kailaan) ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคโคนเน่า, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ระยะเจริญเติบโต 40-45 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

1 Comment

  1. Anonymous

    ดีมากเลยค่ะ เรื่องนี้ทําให้หนูมีความรู้ในการปลูกคะน้าชนิดนี้มากขึ้น

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น